Friday, November 16, 2007

ต้นพิกุล



ชื่อทั่วไป : พิกุล
ชื่อสามัญ : Bullet Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi Linn.
วงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่ออื่นๆ : แก้ว, ซางดง, กุน, ตันหยงแก้ว, ซางดง, กุน, พิกุลป่า, ตันหยง,พิกุลเถื่อน
ถิ่นกำเนิด : ประเทศที่มีอากาศร้อน อินเดีย พม่า มาเลเซีย พบตามป่าทางภาคใต้ และภาคตะวันออกของไทย
ประเภท : ไม้ยืนต้น รูปร่างลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้น สูง 10 - 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปเจดีย์ ขณะที่ต้นยังเล็ก โตขึ้นเป้นทรงกลมหนาทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทามีรอยแตกตามยาวของลำต้นใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปไข่กว้าง 2 - 6 ซม. ยาว 7 - 15 ซม.ปลายใบแหลมเป็นติ่งขอบใบเป็นคลื่นดอก ดอกเดี่ยว อยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง 8กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น กลีบดอกประมาณ 24 กลีบ เรียงซ้อนกันโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อย ดอกสีขาว เมื่อใกล้โรยสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปีเหลือง รสหวานอมฝาดเมล็ด แบนรี ขนาด 1.5 เซนติเมตร เปลือกแข็ง
การขยายพันธ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ชอบแดดจัด ทนต่อสภาพต่าง ๆ ได้ดี ขึ้นประปรายในป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
ประโยชน์
- ปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา ลำต้นใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงเรือเดินทะเล เครื่องมือการเกษตร
- เปลือกต้น ต้มอมกลั้วคอ แก้เหงือกอักเสบ
- เนื้อไม้ที่ราลงมีสีน้ำตาลเข้มประขาว มีกลิ่นหอม เรียกว่า ขอนดอก ใช้บำรุงตับ ปอด หัวใจ และบำรุงครรภ์
- ดอก มีกลิ่นหอมจัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอน้ำมันหอมระเหยจากดอกใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ผลสุก ใช้รับประทานได้
- เมล็ด ตำให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ดสำหรับสวนเวลาท้องผูก


เรื่องเล่า....เทพยดาสิงสถิตที่ต้นพิกุลในวัดอัมพวัน
เนื้อความ :
หนังสือเหตุมหัศจรรย์ของวัดอัมพวัน........ต้นพิกุลต้นนั้น อยู่เยื้องกับพระอุโบสถวัดอัมพวัน เป็นไม้ใหญ่ที่ให้เงื้อมเงาร่มเย็นแผ่เป็นวงกว้าง เมื่อถึงฤดูผลิตดอกกลิ่นหอมละเมียดละไมจะอบอวลรวยรินไปรอบๆต้น ให้ความรู้สึกสดชื่น ระเริงใจ แก่ผู้ที่ทอดกายพักผ่อนใต้ร่มเงานั้นพิกุลต้นนี้มีอายุเก่าแก่ยาวนานสักเพียงใด ไม่มีใครรู้ได้ แม้ต่ญาติโยมซึ่งอยู่ใกล้วัดก็เห็นพิกุลยืนต้นตระหง่านมาตั้งแต่เด็กแรกจำความได้ ตราบนัยน์ตาฝ้าฟางเมื่อความชรามาเยือนและไม่เคยมีใครสัมผัสรู้มาก่อนว่า ณ พิกุลต้นนี้ มีเทพสถิตอยู่นอกจากแม่ชีวัยชราท่านหนึ่ง มีนามว่า แม่ชีก้อนทอง ปานเณรเวลานั้น พระเดชพระคุณ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม มาดำรงตำแหน่งเจ้าเอาวาสวัดอัมพวันหลายปีแล้ว ความเจริญของวัดดูจะอัตคัดตามประสาวัดเก่าแก่โบราณ คล้ายกบว่ายังไม่ถึงช่วงเวลาความรุ่งเรืองของวัดในสมัยหลังๆที่เป็นไปอย่างรวดเร็วฉับพลัน...เป็นอัศจรรย์แม่ชีก้อนทอง ขณะมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดอัมพวัน อายุประมาณ 70 กว่าแล้ว ก่อนหน้านั้น แม่ชีเคยไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักปฏิบัติของหลวงพ่ออ่อน สิงห์บุรี แล้วก็ไปอยู่ สำนักปฏิบัติเขาถ้ำตะโก ต่อมาถึงได้เดินทางมาพบหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม ที่วัดอัมพวัน ขออนุญาตมาปฏิบัติวิปัสนสนากัมมัฏฐาน ณ อารามนี้หลวงพ่ออธิบายสั้นๆ แก่แม่ชีสูงวัยว่า "โยม...วัดนี้ไม่มีสำนักแม่ชีนะ แล้วก็ไม่มีกุฏิชีอยู่....จะอยู่ได้หรือ โยมกลัวผีหรือเปล่าละ ถ้าไม่กลัวก็อยู่บนศาลานั่น มีห้องพอจะอาศัยปฏิบัติได้"แม่ชีก้อนทองกราบเรียนหลวงพ่อว่า "ไม่กลัวผี" หลวงพ่อจรัญจึงเมตตาอนุญาตเมื่อแม่ชีก้อนทองมาอยู่วัดอัมพวันแล้ว ท่านก็ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานอย่างจริงจัง นั่งภาวนา "ยุบหนอ..พองหนอ" สลับเดินจงกรมตลอด ทั้งๆที่มีวัยชรามากแล้วตลอดเวลาที่แม่ชีก้อนทองเจริญกรรมฐาน ท่านจะขอให้หลวงพ่อจรัญสอบอารมณ์ให้แทบทุกวัน กระทั่งเวลาผ่านไป 1 เดือน วันนั้น เป็นเวลาช่วงเช้า หลวงพ่อจรัญก็ไปสอบอารมณ์ให้แม่ชีทองก้อน แม่ชีนมัสการแล้วได้เล่าถวายหลวงพ่อว่า"พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ฉันถ้าจะลำบากเสียแล้ว เทวดามากวนเหลือเกิน""เทวดามาทำไมละโยม...."หลวงพ่อสงสัย"มาชวนฉันสวดมนต์เจ้าคะ"หลวงพ่อจรัญรับฟังแล้วก็ไม่ถามรายละเอียดมากนัก แนะนำแม่ชีให้"กำหนดเห็นหนอ" เวลาเห็นเทวดาเท่านั้น แล้วท่านก็ไปทำกิจของท่านเช้าต่อมา หลวงพ่อจรัญไปสอบอารมณ์ให้แม่ชีก้อนทองอีก แม่ชีรายงานถวายว่า"หลวงพ่อเจ้าคะ เทวดามาอีกแล้ว ฉันกำหนดเห็นหนอ ..... เห็นหนอ...เทวดาก็ไม่ยอมไปเจ้าคะ""เทวดาอยู่ที่ไหน โยมถามเทวดาหรือเปล่า""เทวดาบอกว่าอยู่ที่ต้นพิกุลข้างโบสถ์เจ้าคะ""เทวดามาอยู่ต้นพิกุลได้อย่างไรกัน" หลวงพ่อไม่แน่ใจว่าแม่ชีก้อนทองเห็นเทวดาจริงเพียงไร"เทวดาบอกฉันว่า โดนสาปมาจากสวรรค์ ผิดประเวณีนางฟ้าให้อยู่ที่ต้นพิกุลนี้เจ้าคะ ครบ 100 ปีเมื่อไหร่ถึงจะพ้นคำสาป"แล้วแม่ชีก้อนทองได้บอกกำหนดวัน - เวลา ที่เทวดาพ้นคำสาปชัดเจน หลวงพ่อจรัญก็บันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานเพื่อกันลืม และเป็นข้อพิสูจน์ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ในกาลเวลาต่อไปข้างหน้าหลวงพ่อจรัญซักถามแม่ชีก้อนทองเกี่ยวกับเทวดาที่มาชวนแม่ชีสวดมนต์อย่างละเอียดถี่ถ้วน มิใช่ด้วยเจตนาจับผิด หากต้องการทราบความจริงหลายประการซึ่งตัวท่านเองก็ไม่รู้เช่นกันแม่ชีก้อนทองก็กราบเรียนถวายรายงานต่อหลวงพ่อจรัญเท่าที่ได้รับการถ่ายทอดจากเทวดาซึ่งสถิตอยู่ ณ ต้นพิกุล เป็นลำดับดังนี้เรื่องแรก เทวดาบอกว่า พระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์จะมีเทวดามาสถิตทุกองค์ไป เช่นพระพุทธโสธร ที่แปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา (มีเทวดาหรือเทพชั้นสูงหลายองค์สถิตอยู่) พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก พระแก้วมรกต วัดพระแก้ว กรุงเทพมหานคร ฯลฯ สำหรับผู้ที่ไม่มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธรูปของตนอย่างจริงจัง กล่าวได้ว่าแม้จะมีพระพุทธรูปเก่าแก่มีราคาแพง เช่นพระเชียงแสนโบราณ ก็หาประโยชน์อันใดมิได้การไม่เคารพศรัทธาเสื่อมใสจะเห็นได้ทั่วไป คือ มีพระพุทธรูปล้ำค่าอยู่ในเรือนตน แต่ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่แสดงสักการบูชาเป็นประจำ ไม่เคยสวดมนต์เลย เทวดาก็ไม่อยู่ด้วยแล้วบางบ้านมีห้องพระก็จริง แต่ปล่อยให้เด็กๆลูกหลานเข้าไปนอนกันเขละขละ ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูงหรือรู้อันใดควรไม่ควร แสดงกิริยาวาจาหยาบคาย ตึงตัง เทวดาท่านก็ไม่อยู่อีกเช่นกันพระพุทธรูปที่จะศักดิ์สิทธิ์ได้ โดยมีเทวดามาสถิตรักษานั้น จะต้องจัดวางไว้ในที่อันควร มีความสงบเงียบพอสมควร สถานที่ตั้งพระพุทธรูปควรรักษาให้สะอาดผ่องใสตลอดเวลา มีเครื่องบูชา เช่นรูปเทียน ดอกไม้บ้าง ไม่ปล่อยให้เด็กๆ แสดงกิริยาวาจาอันสื่อแสดงถึงการไม่มีสัมมาคารวะประการสำคัญที่สุด คนในบ้านจะต้องไหว้พระสวดมนต์ทุกวัน มีจิตใจนอบน้อมศรัทธา มีศีลธรรมประจำใจ เทวดาหรือเทพจึงจะมาสถิต มาสวดมนต์แผ่เมตตาให้เกิดศิริมงคลแก่คนในครอบครัวนั้นๆเทวดาซึ่งมาชวนแม่ชีก้อนทองสวดมนต์ ได้บอกกล่าวให้รู้อีกว่า แม้จะมีพระพุทธรูปอันเป็นของใหม่ ซึ่งมีจำหน่ายให้บูชาตามร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ทั่วไป หากมีการไหว้พระสวดมนต์เบื้องหน้าพระพุทธรูปทุกวัน พระพุทธรูปนั้นก็จะเกิดความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาได้ เพราะมีเทวดามาสถิต และสวดมนต์แผ่เมตตาอวยพรให้เกิดศิริมงคลหลวงพ่อจรญได้สอบถามแม่ชีก้อนทองต่อไปอีกว่า เทวดาต้นพิกุลมาสวดมนต์ให้แม่ชีโดยเฉพาะหรือ และเทวดาสวดมนต์บทอะไร แม่ชีกราบเรียนถวายว่า เทวดาไม่ได้มาสวดให้เป็นการเฉพาะหรอก บ้านไหน มีการไหว้พระสวดมนต์เป็นประจำด้วยความเคารพศรัทธา เทวดาก็จะไปสวดมนต์ให้ทุกบ้าน ท่านจะไปสวดเวลาหลังเที่ยงคืนทุกคืนด้วยบทสวด"มหาเมตตาใหญ่"หลวงพ่อจรัญก็ฉุกคิดขึ้นมา ตัวท่านเองสวดได้บทสั้น ไม่ใช่บทยาว ยิ่งไปกว่านั้นแม่ชีก้อนทองยังกราบเรียนถวายท่านอีกว่า เทวดาสั่งความไว้กับแม่ชีให้มาบอกหลวงพ่อ บอกว่าให้กราบเรียนท่านสมภารวัดนี้ด้วย เทวดาอยู่ที่ต้นพิกุล ทำผิดประเวณีนางฟ้าหลวงพ่อนึกฉงนเหมือนกันว่า เทวดาก็ถูกลงโทษได้ เคยคิดว่าเทวดาจะไม่มีโทษเสียอีกเมื่อหลวงพ่อจรัญพูดคุยกับแม่ชีก้อนทอง เรื่องเทวดามาสอนสวดมนต์ทำให้ท่านนึกกึงเรื่อง "เทวดาสวดมนต์" ซึ่งท่านเคยรับรู้มาเมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็กเวล่าผ่านไป หลวงพ่อจรัญต้องการให้ประจักษ์แจ้งว่า เทวดาสวดมนต์เป็นอย่างไร ดังนั้นในคืนหนึ่ง ท่านยังไม่เข้าจำวัดรอคอยอยู่ที่กุฏิ กระทั่งเวลาผ่านไปใกล้จะเที่ยงคืนจึงออกจากกุฏิไปที่ศาลาการเปรียญ ซึ่งแม่ชีก้อนทองพักปฏิบัติกรรมฐานอยู่ หลวงพ่อไม่ขึ้นไปบนศาลา หากยืนอยู่ข้างล่างเงียบๆ ใกล้กับที่แม่ชีก้อนทองนอนอยู่ใกล้เวลาเที่ยงคืน แม่ชีก้อนทองก็ลุกขี้น จุดธูปเทียน สักการบูชาพระรัตนตรัย เวลา 00.01 น. เสียงสวดมนต์ก็ดังขึ้น แต่ไม่ใช่เสียงแม่ชีก้อนทองเป็นเสียงเทวดาสวดมนต์"มหาเมตตาใหญ่"หลวงพ่อจรัญยืนฟังนานนับชั่วโมงจึงได้กลับขึ้นกุฏิวันต่อมา หลวงพ่อจรัญ ได้เรียกแม่ชีก้อนทองมาสวด"มหาเมตตาบทใหญ่" ให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ แม่ชีก้อนทองก็ว่าได้คล่องแคล่วไม่มีติดขัด ทั้งๆที่แม่ชีก้อนทองไม่ได้เรียนหนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ดังนั้นจะไปหาหนังสือตำราที่ไหนมาท่องจนจำขึ้นใจแม้แม่ชีก้อนทองจะท่องบทสวดให้ฟัง หลวงพ่อจรัญก็ยังไม่แน่ใจกระทั่งหลวง่พอมีกิจนิมนต์ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พอมีเวลาว่างท่านได้แวะไปละแวกเสาชิงช้า ซึ่งเป็นแหล่งขายสังฆภัณฑ์โดยตรง หลวงพ่อถามหาตำราบทสวดมนต์ซึ่งมีบท "มหาเมตตาใหญ่"ด้วย ปรากฏว่าไม่มีตำราเล่มไหนมีบทสวดบทนี้เลยหลวงพ่อจรัญจึงเข้าไปที่วัดสุทัศน์ ไปหาพระครูปลัดองค์หนึ่งซึ่งคุ้นเคยกัน เป็นพระครูปลัดฐานาของสมเด็จพระพุฒาจารย์องค์เก่า(พุฒาจารย์โสม) หลวงพ่อออกปากขอยืมหนังสือพุทธาภิเษกฉบับสมเด็จพระสังฆราชแพ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้มีบทสวด "มหาเมตตาใหญ่" ได้หนังสือเรียบร้อยก็เดินทางกลับวัดอัมพวัน สิงห์บุรีคราวนี้ หลวงพ่อจรัญก็กางตำนาบอกให้แม่ชีก้อนทองว่าบทสวด"มหาเมตตาใหญ่" ตั้งแต่ต้น ไล่หาคำผิดไปทีละคำ ทีละบรรทัด กระทั่งจบ ใช้เวลาสวดและตรวจทานไปพร้อมๆกันถึง 3 ชั่วโมงเต็มปรากฏว่า แม่ชีก้อนทองสวดมนต์ไม่มีผิดเลยแม้แต่คำเดียว